เฮอร์เบิร์ต คิตชิเนอร์ เอิร์ลคิตชิเนอร์ที่ 1
เฮอร์เบิร์ต คิตชิเนอร์ เอิร์ลคิตชิเนอร์ที่ 1

เฮอร์เบิร์ต คิตชิเนอร์ เอิร์ลคิตชิเนอร์ที่ 1

โฮราชิโอ เฮอร์เบิร์ต คิตชิเนอร์ เอิร์ลคิตชิเนอร์ที่ 1 (อังกฤษ: Horatio Herbert Kitchener, 1st Earl Kitchener, 24 มิถุนายน ค.ศ. 1850 – 5 มิถุนายน ค.ศ. 1916) เป็นนายทหารอาวุโสของกองทัพบกสหราชอาณาจักรและผู้ปกครองอาณานิคมชาวแองโกล-ไอริช คิตชิเนอร์โดดเด่นจากการณรงค์ของจักรวรรดิบริติช การใช้กลยุทธ์ผลาญภพกับชาวบัวร์ การขยายค่ายกักกันของลอร์ดรอเบิตส์ระหว่างสงครามบูร์ครั้งที่สอง[1][2] และมีบทบาทสำคัญช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคิตชิเนอร์เกิดในค.ศ. 1850 ที่เมืองบอลลีลองฟอร์ดในไอร์แลนด์ เป็นบุตรของเฮนรี โฮราชิโอ คิตชิเนอร์กับฟรานเชส แอนน์ เชวาลเลียร์[3] ต่อมาครอบครัวย้ายไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ คิตชิเนอร์เรียนที่โรงเรียนในเมืองมงเทรอและวิทยาลัยทหารที่เมืองวูลิช[4][5] ก่อนจะเข้าร่วมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของฝ่ายฝรั่งเศสในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย แต่พ่อของเขาพาตัวกลับบริเตนหลังคิตชิเนอร์ล้มป่วยด้วยโรคปอดบวม[5] ต่อมาในค.ศ. 1871 คิตชิเนอร์ร่วมสังกัดเหล่าทหารช่างและถูกส่งไปทำงานสำรวจในตะวันออกกลาง[3] ระหว่างค.ศ. 1874–1878 คิตชิเนอร์สำรวจปาเลสไตน์เพื่อทำแผนที่ก่อนจะย้ายไปไซปรัสเพื่อสำรวจทำแผนที่เช่นกัน[5]ค.ศ. 1883 คิตชิเนอร์ถูกส่งไปอียิปต์ ที่นั่นเขามีส่วนในการพัฒนากองทัพอียิปต์ซึ่งในขณะนั้นเป็นรัฐหุ่นเชิดของบริเตนและสนับสนุนการสู้รบกับกลุ่มมะฮ์ดีในซูดาน[6] ค.ศ. 1898 คิตชิเนอร์มีชื่อเสียงหลังได้รับชัยชนะในยุทธการที่ออมเดอร์มาน ส่งผลให้การปกครองซูดานมั่นคงขึ้นและเขาได้รับแต่งตั้งเป็นบารอนคิตชิเนอร์แห่งคาร์ทูม คิตชิเนอร์เป็นเสนาธิการในสงครามบูร์ครั้งที่สอง[4] มีส่วนสำคัญในการช่วยลอร์ดรอเบิตส์พิชิตสาธารณรัฐบัวร์ เขาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดต่อจากรอเบิตส์ในช่วงเวลาที่ชาวบัวร์ทำสงครามกองโจรและกองทัพบริติชคุมขังชาวบัวร์ในค่ายกักกัน ต่อมาคิตชิเนอร์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดในอินเดีย ก่อนจะกลับไปอียิปต์เพื่อดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้นใน ค.ศ. 1914 คิตชิเนอร์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม เขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่คาดการณ์ว่าสงครามจะยืดเยื้ออย่างน้อยสามปี จึงจัดตั้งกองทัพอาสาสมัครที่เรียกว่ากองทัพของคิตชิเนอร์ขึ้น[7] ในค.ศ. 1915 คิตชิเนอร์ถูกกล่าวโทษเรื่องการขาดแคลนกระสุนปืนใหญ่ ส่งผลให้เขาถูกปลดจากหน้าที่ดูแลยุทโธปกรณ์และกลยุทธ[8] เรื่องอื้อฉาวนี้ร่วมกับความล้มเหลวในการทัพกัลลิโพลีส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของคิตชิเนอร์ในช่วงบั้นปลายอย่างมาก[9] วันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1916 คิตชิเนอร์เดินทางไปเจรจากับจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียด้วยเรือหลวงแฮมป์เชียร์ ก่อนเรือจะอับปางเมื่อชนทุ่นระเบิดของเยอรมันทางตะวันตกของกลุ่มเกาะออร์กนีย์ ตอนเหนือของสกอตแลนด์ ส่งผลให้ผู้โดยสาร 737 คนรวมทั้งคิตชิเนอร์เสียชีวิต[10]

เฮอร์เบิร์ต คิตชิเนอร์ เอิร์ลคิตชิเนอร์ที่ 1

บำเหน็จ รายการสมบูรณ์
ยศ จอมพล
นายกรัฐมนตรี เอช. เอช. แอสควิธ
ก่อนหน้า ตำแหน่งขุนนางถูกแต่งตั้ง
ประจำการ ค.ศ. 1871–1916
การยุทธ์ สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
สงครามมะฮ์ดี
สงครามบูร์ครั้งที่สอง
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
บังคับบัญชา ผู้บัญชาการสูงสุดอินเดีย (ค.ศ. 1902–1909)
กองทัพบริเตนในแอฟริกาใต้ (ค.ศ. 1900–1902)
กองทัพอียิปต์ (ค.ศ. 1892–1899)
เกิด 24 มิถุนายน ค.ศ. 1850(1850-06-24)
บอลลีลองฟอร์ด, เคาตีเคอร์รี, ไอร์แลนด์
สังกัด กองทัพบกสหราชอาณาจักร
รับใช้ สหราชอาณาจักร
ถัดไป เอิร์ลคิตชิเนอร์ที่ 2
กษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร
เสียชีวิต 5 มิถุนายน ค.ศ. 1916 (65 ปี)
เรือหลวงแฮมป์เชียร์, ตะวันตกของออร์กนีย์, สกอตแลนด์
ญาติ เอิร์ลคิตชิเนอร์ที่ 2 (พี่ชาย)
เซอร์ วอลเตอร์ คิตชิเนอร์ (น้องชาย)

ใกล้เคียง

เฮอร์เบิร์ต แฮดด็อก เฮอร์เบิร์ต คิตชิเนอร์ เอิร์ลคิตชิเนอร์ที่ 1 เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ เฮอร์เบิร์ต แชปแมน เฮอร์เบิร์ต ไซมอน เฮอร์เบิร์ต เบียรี เฮอร์เบิร์ต คิลปิน เฮอร์เบิร์ต ฟอน คาราจัน